วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

คุณลักษณะของพลเมืองดี

 คุณลักษณะพลเมืองดี
                คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้

1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย
2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น
3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว
  ดรงเรียน  ชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก
4.ต้องเป็นบุคคลที่มีเหตุผล
  ใจกว้าง  และรับฟังความคิดเห็นของคนบุคคลอื่นเสมอ
5.ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
6.ต้องเป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน
 ประเทศชาติ  และสังคมโลก  หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่  เช่น  ร่วมกั อ่านเพิ่มเติม






วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทย   หมายถึง  วิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย  ซึ่งเป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงานและการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ  ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้  เข้าใจ  ซาบซึ้ง  ยอมรับ  และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย  ได้แก่
1.            ภาษาและวัฒนธรรม  หมายถึง  ภาษาไทยที่ใช้ในการพูดและการเขียนรวมทั้งงานประพันธ์ที่สร้างสรรค์ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2.            มารยาท  หมายถึง  การประพฤติ  ปฏิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคลที่สังคมยอมรับ  ได้แก่  มารยาททางกาย  และมารยาททางวาจา
3.            การแต่งกาย  หมายถึง  เครื่องนุ่งห่มที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
4.            ประเพณีและพิธีทางศาสนา  หมายถึง  กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่างๆ
5.            ศิลปกรรม  หมายถึง  งานศิลปหัตถกรรม  จิตกรรม  สถาปัตยกรรม  และประติมากรรม
6.            การแสดงและการละเล่น  หมายถึง  การละเล่นและของเล่นของไทย  ดนตรีไทย  เพลงไทยประเภทต่างๆ  และศิลปะการแสดงของไทย
                การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย  หม อ่านเพิ่มเติม



วัฒนธรรม

          มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อประโยชน์แห่งการดำรงชีวิตและการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ในเมื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องที่กว้างใหญ่และมีแง่มุมต่างๆ ให้พิจารณาอย่างซับซ้อน เรื่องของวัฒนธรรมจึงสามารถมองได้หลายแง่มุมไปด้วย มีผู้ให้ความหมายคำว่า "วัฒนธรรม" ต่างๆ กัน
          ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรม ไว้ ๔ นัย ดังนี้คือ
               ๑. สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ
               ๒. วิถีชีวิตของหมู่คณะ
               ๓. ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน  อ่านเพิ่มเติม


การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ 
             การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
     ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ 
             ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศก่อให้เกิดสันติภาพและความเป็นธรรม เกิดการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงินลงทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น     
    ผลเสียของการร่วมมือระหว่างประเทศ
             อาจก่อให้เกิดการกีดกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้ 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่ อ่านเพิ่มเติม



สิทะฺมนุษยชนในประเทศไทย

กฎหมายไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ  มานานรับจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับด้วยกัน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Froms of Discriminay=tion against Women) เป็นต้น
            อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญาต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการขาดการส่งเสริมละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่รอแก้ไขอีกหลายประการในที่นี้จะยกตัวอย่างปัญกาสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาให้ทราบพอสังเขป ดังนี้
6.1 ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศจึงทำให้ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน เช่น สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา พยายามเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย ทั้งที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามาย่างปิดกฎหมาย

            โดยอาชีพส่วนใหญ่ที่แรงงานเหล่านี้เข้ามาทำ คือ  อ่านเพิ่มเติม

สิทะธิมนุษยชน

องค์การสหประชาชาติในฐานะที่เป็นองค์กรกลางระหว่างประเทศ ได้กำหนดข้อตกลงว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้น  เพื่อเป็นมาตรฐานเบื้องต้นในการให้ประชาคมโลกได้นำไป 
ปฎิบัติและพัฒนาสิทธิมนุษยชนให้ยิ่งขึ้น  เพื่อให้เกิดผลต่ความเป็นอยู่เบื้องต้นของมนุษยชาติ  ซึ่งเราพอจะสรุปความสำคัญได้ดังนี้
 1. ส่งเสริมให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  อันเป็นผลมาจากการได้รับสิทธิต่างๆ  เช่น สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ  สิทธิใการประกันการว่างงาน  สิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว  สิทธิด้านแรงงาน หรือสิทธิในการได้รับค่าจ้างที่พอเพียงกับค่าครองชีพ  เป็นต้น
 2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์  สิทธิมนุษยชนช่วยทำให้มนุษย์ได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น  ด้ารการศึกษา สิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข  การคุ้มครองลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร  เป็นต้น
 3. ให้โอกาสแก่ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทางสังคม  รวมทั้งการร่วมกิจกรรมทางวิถีประชาธิปไตย  เช่น สิทธิในการชุมชนและการรวมกลุ่ม  สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น
 4. ทุกคนได้รับการปฎิบัติต่อกันที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน  ซึ่งเป็นไปตามหลัก อ่านเพิ่มเติม

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองและครอบครัว

กฎหมายเกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล
1.  ชื่อบุคคล  เป็นเครื่องบ่งชี้เฉพาะบุคคล  ประกอบด้วยชื่อตัว  ชื่อรอง  และชื่อสกุล (แต่คนไทยไม่นิยมใช้ชื่อรอง)
–  ชื่อตัว  เป็นชื่อประจำตัวบุคคลแต่ละคน  ใช้บ่งชี้เฉพาะตัวบุคคลได้  แต่มิอาจซ้ำกัน
–  ชื่อรอง  เป็นชื่อถัดจากชื่อตัว  กฎหมายไม่บังคับให้ใช้ชื่อรอง
–  ชื่อสกุล  เป็นชื่อประจำวงศ์ตระกูล  ใช้ร่วมกับชื่อตัว  ทำให้สามารถบ่งชี้บุคคลได้เฉพาะเจาะจงได้ดีขึ้น
2.  การตั้งชื่อตัว  และชื่อรอง  มีหลักเกณฑ์  คือ
–  ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายปรมาภิไธย  พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
–  ต้องไม่มีความหมายหยาบคาย  ไม่มีเจตนาทุจริต  มีความหมายรู้ว่าเป็นชายหรือหญิง
–  ผู้เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์  จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้
3.  การเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อรอง  มีหลักเกณฑ์  อ่านเพิ่มเติม



วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น  เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้
1. ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ  ผู้ใดจะละเมิดมิได้  และผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
2. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย  ทรงเป็นมิ่งขวัญของทหารทุกเหล่าทัพ
3. ทรงเป็นพุทธมามกะ  และยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
4. ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์  และพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์รวมทั้งถอดถอนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
5. ทรงไว้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา  รองประธานสภา  ผู้แทนราษฎร  รองประธานวุฒิสภา   และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผูแทนราษฎร
6. ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการเรียกประชุมรัฐสภา
7. ทรงไว้พระราชอำนาจในด้านการตรา พระราชบัญญัติ  พระราชกฤฏีกา  พระราชกำหนดเพื่อประโยชน์อันที่จะรักษาความปลอดภัยและ  ความมั่นคงทางเศษฐกิจของประเทศหรือป้องกันภัยพิบัติของ อ่านเพิ่มเติม

ปัญหาสังคมและแนวทางการแก้ไข

ลักษณะปัญหาสังคม  พอสรุปลักษณะปัญหาสังคมได้ดังนี้
เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจำนวนมาก
เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวะการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
ปัญหาสังคม จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อค่านิยมหรือการตีความในแบบแผนพฤติกรรมแตก
ปัญหาสังคมย่อมผันแปร ไปตามกาลเวลา
ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐหรือจากพฤติกรรมสังคมงึมที่มิได้คาดคิดล่วงหน้าไว้ก่อน
6.        บุคคลมีชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกันย่อมมีความคิดเห็นการแก้ปัญหาสังคมที่แตกต่างกันทุกคนยอมรับการ

แก้ปัญหาสังคมที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเองมากที่สุด
          1.       ปัญหายาเสพติด
           2.       ปัญหาความยากจน
          3.       ปัญหาโรคเอดส์
           4.       ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          5.       ปัญหาด้านการศึกษา
          6.       ปัญหาครอบครัว
          7.       ปัญหาความเสื่อมโทรมทางด้านจิตใจและศีลธรรม
          8.       สุขภาพอนามัย
          9.       ปัญหากลุ่มผู้ด้อยโอกาส       
                  สังคมไทยในปัจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผู้คนในสังคม อ่านเพิ่มเติม



การเแลี่ยนแปลงทางสังคม

ราชบัณฑิตยสถาน (2524 : 337) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น
พัทยา สายหู (2529 : 206-207) ได้อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบความสัมพันธ์ของคนที่อยู่ด้วยกัน อันเป็นผลมาจากระเบียบที่กำหนดการกระทำ และความสัมพันธ์ของคน เช่น สิทธิและหน้าที่ ขนบธรรมเนียมประเพณี บทบาทและสถานภาพ มีการเปลี่ยนแปลง
สนิท สมัครการ (2538 : 4) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ว่าจะเล็กน้อย หรือใหญ่โตเพียงไรก็ตามย่อมถือได้ว่าเป็นเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ทั้งสิ้น อ่านเพิ่มเติม


วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

โครงสร้างทางสังคม

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างทางสังคมเช่นเดียวกับโครงสร้างทางสังคมทั่วไปในเรื่องของกลุ่มสังคมและสถาบันสังคม การที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแบบแผนและมีแบบแผนก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียขึ้นในสังคมไทย ในแง่ของผลเสีย พบว่า กระบวนการของ อ่านต่อ